อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นสถาบันการศึกษาหลักในภูมิภาคตะวันออก มีระบบและกลไกในการบริหารจัดการงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่มีคุณภาพ ส่งเสริมและสนับสนุนการบูรณาการงานวิจัย กับศักยภาพของพื้นที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรและช่วยขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (eastern economic corridor; eec) ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือในการเป็นมหาวิทยาลัยหลักเชิงกลยุทธ์ของ eec (eec strategic university) มหาวิทยาลัยบูรพาได้มีการพัฒนาศักยภาพด้านวิชาการและการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อมุ่งสู่การเป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำในระดับสากล

กระบวนการทำงาน

แผนกลยุทธ์ในการบริหารจัดการ

กลยุทธ์ที่ 1 การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อรวมทรัพยากร (Pooling & sharing resources) และขยายพื้นที่การให้บริการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออก กับสถาบันการศึกษาเครือข่ายสถาบัน/หน่วยงานวิจัยต่างๆ เพื่อบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันและรวมทรัพยากร ได้แก่ นักวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมืออุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ เพื่อความพร้อมสำหรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการได้ครอบคลุมทุกพื้นที่ของภาคตะวันออก

กลยุทธ์ที่ 2 การให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการ (One stop & one touch services) ให้บริการ หรือประสานเชื่อมโยงให้เกิดบริการที่ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการอย่างครบวงจรช่วยเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการที่จะเข้ามาใช้บริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ มากขึ้น

กลยุทธ์ที่ 3 บ่มเพาะเทคโนโลยีเพื่อสร้างธุรกิจและสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ (Spin-off unit)สนับสนุนงบประมาณ เทคโนโลยี การฝึกอบรม การให้คำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อบ่มเพาะศักยภาพของผู้สนใจเป็นผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีความเข็มแข็งและมีความพร้อมในการทำธุรกิจได้อย่างยั่งยืน

กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาระบบบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ให้มีธรรมาภิบาลกำหนดระบบการบริหารจัดการอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีประสิทธิภาพสูง คล่องตัว โปร่งใสและตรวจสอบได้ และมีระบบควบคุมกำกับที่มีประสิทธิภาพ

โครงสร้างองค์กร​

“East Park พัฒนาการให้บริการธุรกิจนวัตกรรม มุ่งมั่นสร้างสรรค์ พัฒนานิคมวิจัยสําหรับเอกชน เพื่อรากฐานที่มั่นคงของประเทศไทย”